กฎระเบียบ
พื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ ศีล ศีลจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมาธิ และกระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นจากปัญญา คือการรู้แจ้งเห็นจริง
ศีล
ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนาทุกท่านจะต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด ได้แก่
1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการดื่มน้ำเมา
สำหรับผู้ที่เคยผ่านหลักสูตรนี้มาแล้ว จะต้องถือศีล 8 ซึ่งมีเพิ่มเติม คือ
6. เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล
7. เว้นจากการดูละครฟ้อนรำ และการใช้เครื่องหอมตกแต่งร่างกาย
8. เว้นจากการนอนบนที่นอนที่หนาและอ่อนนุ่ม
ผู้ที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว จะรักษาศีลข้อ 6 ได้ด้วยการดื่มแต่เพียงน้ำปานะหลังจากการพักในเวลา 5 โมงเย็น ในขณะที่ผู้ปฏิบัติใหม่ อาจจะดื่มนม น้ำชา หรือรับประทานผลไม้ได้ อาจารย์ผู้สอนอาจจะยอมให้ผู้ที่เคยปฏิบัติมาแล้วบางคนยกเว้นการรักษาศีลข้อนี้ได้ ถ้าหากบุคคลผู้นั้นมีปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนศีลข้อ 7 และ 8 นั้น ทุกคนจะต้องรักษา
การยอมรับอาจารย์ผู้สอนและวิธีการปฏิบัติ ในระหว่างการฝึก
ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องรับที่จะปฏิบัติตามวิธีการ และคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอนทุกประการนั่นคือ ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องปฏิบัติตามวิธีการปฏิบัติที่อาจารย์สอน โดยไม่มีการแต่งเติมหรือตัดทอนใดๆ ทั้งสิ้น การยอมรับด้วยความเชื่อถือเท่านั้น ที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกสามารถปฏิบัติได้อย่างขยันขันแข็งโดยตลอด ซึ่งการยอมรับนี้ก็ควรจะมีการแยกแยะและทำความเข้าใจด้วย มิใช่เป็นไปเพราะถูกบังคับหรือหลงงมงายเหมือนคนตาบอด ความเชื่อมั่นที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและวิธีการปฏิบัติ จำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการปฏิบัติวิปัสสนา
Blog Archive
Saturday, September 27, 2008
คำแนะนำในการเข้าอบรม
ขอให้การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของท่านจงยังประโยชน์สูงสุดให้แก่ท่าน เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว จึงขอเสนอข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ ด้วยความปรารถนาดีต่อความสำเร็จของท่าน โปรดทำความเข้าใจให้ตลอดก่อนกรอกใบสมัครเพื่อขอเข้ารับการฝึกอบรม
คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ
วิปัสสนาเป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน แต่ก็ได้กลับมาค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว วิปัสสนาหมายถึง "การมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง" อันเป็นกระบวนการในการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการเฝ้าดูตนเอง เราจะเริ่มต้นด้วยการเฝ้าสังเกตดูลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ เมื่อมีสติที่มั่นคง เราก็จะก้าวไปสู่การเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งจะทำให้ได้พบกับสัจธรรมที่เป็นสากลคือ ได้เห็นความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) การที่ได้รู้เห็นถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเหล่านี้จากประสบการณ์ของท่านเองโดยตรง จึงเป็นวิธีการในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ธรรมะเป็นเรื่องสากล มีไว้สำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นสากล มิได้ผูกขาดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บุคคลทุกคนจึงสามารถจะปฏิบัติได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องของเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ หรือศาสนา ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนโดยทั่วถึงกัน
วิปัสสนานั้นมิใช่เป็น
* พิธีกรรมที่มีพื้นฐานทางความเชื่อถืออย่างงมงาย
* เรื่องบันเทิงทางปัญญาหรือปรัชญา
* การพักฟื้น การหยุดพักผ่อน หรือโอกาสที่จะมาสังสรรค์กัน
* การหลีกหนีจากปัญหาและความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน
หากแต่วิปัสสนาเป็น
* วิธีการในการขจัดความทุกข์
* ศิลปะของการดำเนินชีวิตที่จะทำให้คนเราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
* วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้คนเราสามารถเผชิญกับความตึงเครียดและปัญหาในชีวิตได้ด้วยความสงบและความสมดุลทางจิตใจ
วิปัสสนากรรมฐานจึงมุ่งไปยังเป้าหมายทางจิตใจในระดับสูงสุด เพื่อการหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงและเพื่อการบรรลุธรรม มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการบำบัดรักษาโรคทางกาย แต่เนื่องจากเป็นผลพลอยได้จากการทำจิตให้บริสุทธิ์ จึงทำให้ความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากความเก็บกดในจิตใจหมดไป แท้จริงแล้ว วิปัสสนาสามารถที่จะขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3 ประการ คือ โลภ โกรธ หลง ได้ ถ้าได้ปฏิบัติต่อเนื่องกัน วิปัสสนาจะระบายความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและแก้ปมในใจที่ผูกอยู่ เนื่องจากนิสัยดั้งเดิมที่ชอบปรุงแต่งต่อสถานการณ์ต่างๆ เช่น ปรุงแต่งไปในทางที่ชอบหรือพอใจ (อันทำให้เกิดโลภะ) และไม่ชอบหรือไม่พอใจ (อันทำให้เกิดโทสะ) แม้ว่าวิปัสสนาจะพัฒนาขึ้นมาโดยที่เป็นวิธีการหนึ่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่การปฏิบัติก็มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของศาสนาแต่อย่างใด วิธีปฏิบัติตั้งอยู่บนพื้นฐานธรรมดาสามัญที่ว่า มนุษย์ทุกคนต่างมีปัญหาเหมือนๆ กัน และวิธีการที่สามารถขจัดปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้องเป็นวิธีที่เป็นสากล มีผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ เคยได้รับผลจากการปฏิบัติวิปัสสนามาแล้ว โดยมิได้มีความขัดแย้งกับความเชื่อที่มีอยู่เดิม
วินัยในการปฏิบัติ
กระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการสังเกตดูตนเองนี้ มิใช่เป็นเรื่องง่ายอย่างแน่นอน เราจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องใช้ความพยายามของตนเองเท่านั้น จึงจะเข้าถึงการรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ไม่มีใครอื่นที่จะทำให้ได้ ดังนั้นวิปัสสนากรรมฐานจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติ และมีความเคร่งครัดต่อระเบียบ เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง และเป็นการคุ้มครองตนเองด้วย กฎระเบียบต่างๆ จะเป็นส่วนที่ทำให้การปฏิบัติกรรมฐานสมบูรณ์ขึ้น เวลา 10 วันนี้นับว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นในการที่จะเจาะลึกเข้าไปถึงระดับจิตใต้สำนึก และเรียนรู้วิธีการที่ขจัดกิเลสที่ตกตะกอนอยู่ในส่วนลึกสุด (อนุสัยกิเลส) การปฏิบัติให้ต่อเนื่องโดยไม่พูดจาหรือเกี่ยวข้องกับใคร เป็นเคล็ดลับของความสำเร็จของวิธีการนี้
กฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนดขึ้น ก็เพื่อรักษาการปฏิบัติแนวนี้ให้คงอยู่ได้ กฎเกณฑ์ต่างๆ มิได้ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อความสะดวกในการบริหาร หรือเพื่อคัดค้านประเพณีคำสอน หรือความเชื่องมงายที่มีอยู่ในบางศาสนา แต่เป็นสิ่งที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนับพันๆ คนเป็นเวลาหลายปี และยังเป็นสิ่งที่มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ การรักษากฎระเบียบจะก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นระเบียบอันเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติกรรมฐาน การฝ่าฝืนกฎระเบียบย่อมจะทำให้เกิดมลภาวะ ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องอยู่ให้ครบ 10 วัน และจะต้องอ่านกฎระเบียบต่างๆอย่างใคร่ครวญ ผู้ที่คิดว่าสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้เท่านั้น จึงควรจะสมัครเข้าปฏิบัติ ผู้ที่มิได้เตรียมตัวที่จะใช้ความพยายามในการปฏิบัติอย่างเต็มที่ ไม่ควรสมัคร เพราะจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ยังจะเป็นการรบกวนบุคคลอื่นที่ตั้งใจเข้ามาปฏิบัติด้วยความเคร่งครัดอีกด้วย ผู้เข้ารับการฝึกจะได้รับคำเตือนว่า หากเลิกฝึกก่อนที่จะจบการอบรม เนื่องจากเห็นว่ากฎระเบียบต่างๆ ยากที่จะปฏิบัติ จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวผู้นั้น รวมทั้งจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจขึ้นมาได้ ในกรณีที่นับว่าร้ายแรงที่สุดก็คือ เมื่อถูกเตือนหลายครั้งแล้ว ยังไม่สามารถจะปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ ก็จะถูกขอให้ออกไปจากการฝึกอบรม
ผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตประสาท
บุคคลที่ป่วยด้วยโรคทางจิต บางครั้งอาจต้องการสมัครมาเข้ารับการฝึกวิปัสสนาด้วยความเข้าใจผิดว่า การปฏิบัติวิปัสสนาจะช่วยรักษา หรือบรรเทาอาการป่วยทางจิตของตน แท้จริงแล้ว ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ไม่ปกติสุขตลอดจนการได้รับการเยียวยาทางจิตประสาทด้วยวิธีต่างๆ มาแล้วนั้น กลับจะเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติภาวนาจนถึงขั้นที่ทำให้ไม่ได้รับประโยน์ใดๆ เลยจากการมาเข้ารับการฝึกอบรม หรืออาจทำให้ไม่สามารถอยู่รับการฝึกให้ตลอดหลักสูตรได้ด้วย แม้การปฏิบัติวิปัสสนาจะเป็นประโยชน์สำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ก็มิใช่เป็นการทดแทนการรักษาพยาบาลด้วยยาหรืออื่นใด เนื่องจากศูนย์ปฏิบัติของเราให้บริการโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น จึงทำให้ไม่สามารถที่จะดูแลบุคคลผู้มีปัญหาเหล่านี้โดยถูกต้องได้ ผู้มีปัญหาทางจิตประสาทจึงไม่ควรสมัครเข้ารับการอบรม
คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ
วิปัสสนาเป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน แต่ก็ได้กลับมาค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว วิปัสสนาหมายถึง "การมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง" อันเป็นกระบวนการในการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการเฝ้าดูตนเอง เราจะเริ่มต้นด้วยการเฝ้าสังเกตดูลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ เมื่อมีสติที่มั่นคง เราก็จะก้าวไปสู่การเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งจะทำให้ได้พบกับสัจธรรมที่เป็นสากลคือ ได้เห็นความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) การที่ได้รู้เห็นถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเหล่านี้จากประสบการณ์ของท่านเองโดยตรง จึงเป็นวิธีการในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ธรรมะเป็นเรื่องสากล มีไว้สำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นสากล มิได้ผูกขาดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บุคคลทุกคนจึงสามารถจะปฏิบัติได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องของเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ หรือศาสนา ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนโดยทั่วถึงกัน
วิปัสสนานั้นมิใช่เป็น
* พิธีกรรมที่มีพื้นฐานทางความเชื่อถืออย่างงมงาย
* เรื่องบันเทิงทางปัญญาหรือปรัชญา
* การพักฟื้น การหยุดพักผ่อน หรือโอกาสที่จะมาสังสรรค์กัน
* การหลีกหนีจากปัญหาและความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน
หากแต่วิปัสสนาเป็น
* วิธีการในการขจัดความทุกข์
* ศิลปะของการดำเนินชีวิตที่จะทำให้คนเราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
* วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้คนเราสามารถเผชิญกับความตึงเครียดและปัญหาในชีวิตได้ด้วยความสงบและความสมดุลทางจิตใจ
วิปัสสนากรรมฐานจึงมุ่งไปยังเป้าหมายทางจิตใจในระดับสูงสุด เพื่อการหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงและเพื่อการบรรลุธรรม มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการบำบัดรักษาโรคทางกาย แต่เนื่องจากเป็นผลพลอยได้จากการทำจิตให้บริสุทธิ์ จึงทำให้ความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากความเก็บกดในจิตใจหมดไป แท้จริงแล้ว วิปัสสนาสามารถที่จะขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3 ประการ คือ โลภ โกรธ หลง ได้ ถ้าได้ปฏิบัติต่อเนื่องกัน วิปัสสนาจะระบายความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและแก้ปมในใจที่ผูกอยู่ เนื่องจากนิสัยดั้งเดิมที่ชอบปรุงแต่งต่อสถานการณ์ต่างๆ เช่น ปรุงแต่งไปในทางที่ชอบหรือพอใจ (อันทำให้เกิดโลภะ) และไม่ชอบหรือไม่พอใจ (อันทำให้เกิดโทสะ) แม้ว่าวิปัสสนาจะพัฒนาขึ้นมาโดยที่เป็นวิธีการหนึ่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่การปฏิบัติก็มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของศาสนาแต่อย่างใด วิธีปฏิบัติตั้งอยู่บนพื้นฐานธรรมดาสามัญที่ว่า มนุษย์ทุกคนต่างมีปัญหาเหมือนๆ กัน และวิธีการที่สามารถขจัดปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้องเป็นวิธีที่เป็นสากล มีผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ เคยได้รับผลจากการปฏิบัติวิปัสสนามาแล้ว โดยมิได้มีความขัดแย้งกับความเชื่อที่มีอยู่เดิม
วินัยในการปฏิบัติ
กระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการสังเกตดูตนเองนี้ มิใช่เป็นเรื่องง่ายอย่างแน่นอน เราจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องใช้ความพยายามของตนเองเท่านั้น จึงจะเข้าถึงการรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ไม่มีใครอื่นที่จะทำให้ได้ ดังนั้นวิปัสสนากรรมฐานจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติ และมีความเคร่งครัดต่อระเบียบ เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง และเป็นการคุ้มครองตนเองด้วย กฎระเบียบต่างๆ จะเป็นส่วนที่ทำให้การปฏิบัติกรรมฐานสมบูรณ์ขึ้น เวลา 10 วันนี้นับว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นในการที่จะเจาะลึกเข้าไปถึงระดับจิตใต้สำนึก และเรียนรู้วิธีการที่ขจัดกิเลสที่ตกตะกอนอยู่ในส่วนลึกสุด (อนุสัยกิเลส) การปฏิบัติให้ต่อเนื่องโดยไม่พูดจาหรือเกี่ยวข้องกับใคร เป็นเคล็ดลับของความสำเร็จของวิธีการนี้
กฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนดขึ้น ก็เพื่อรักษาการปฏิบัติแนวนี้ให้คงอยู่ได้ กฎเกณฑ์ต่างๆ มิได้ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อความสะดวกในการบริหาร หรือเพื่อคัดค้านประเพณีคำสอน หรือความเชื่องมงายที่มีอยู่ในบางศาสนา แต่เป็นสิ่งที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนับพันๆ คนเป็นเวลาหลายปี และยังเป็นสิ่งที่มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ การรักษากฎระเบียบจะก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นระเบียบอันเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติกรรมฐาน การฝ่าฝืนกฎระเบียบย่อมจะทำให้เกิดมลภาวะ ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องอยู่ให้ครบ 10 วัน และจะต้องอ่านกฎระเบียบต่างๆอย่างใคร่ครวญ ผู้ที่คิดว่าสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้เท่านั้น จึงควรจะสมัครเข้าปฏิบัติ ผู้ที่มิได้เตรียมตัวที่จะใช้ความพยายามในการปฏิบัติอย่างเต็มที่ ไม่ควรสมัคร เพราะจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ยังจะเป็นการรบกวนบุคคลอื่นที่ตั้งใจเข้ามาปฏิบัติด้วยความเคร่งครัดอีกด้วย ผู้เข้ารับการฝึกจะได้รับคำเตือนว่า หากเลิกฝึกก่อนที่จะจบการอบรม เนื่องจากเห็นว่ากฎระเบียบต่างๆ ยากที่จะปฏิบัติ จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวผู้นั้น รวมทั้งจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจขึ้นมาได้ ในกรณีที่นับว่าร้ายแรงที่สุดก็คือ เมื่อถูกเตือนหลายครั้งแล้ว ยังไม่สามารถจะปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ ก็จะถูกขอให้ออกไปจากการฝึกอบรม
ผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตประสาท
บุคคลที่ป่วยด้วยโรคทางจิต บางครั้งอาจต้องการสมัครมาเข้ารับการฝึกวิปัสสนาด้วยความเข้าใจผิดว่า การปฏิบัติวิปัสสนาจะช่วยรักษา หรือบรรเทาอาการป่วยทางจิตของตน แท้จริงแล้ว ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ไม่ปกติสุขตลอดจนการได้รับการเยียวยาทางจิตประสาทด้วยวิธีต่างๆ มาแล้วนั้น กลับจะเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติภาวนาจนถึงขั้นที่ทำให้ไม่ได้รับประโยน์ใดๆ เลยจากการมาเข้ารับการฝึกอบรม หรืออาจทำให้ไม่สามารถอยู่รับการฝึกให้ตลอดหลักสูตรได้ด้วย แม้การปฏิบัติวิปัสสนาจะเป็นประโยชน์สำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ก็มิใช่เป็นการทดแทนการรักษาพยาบาลด้วยยาหรืออื่นใด เนื่องจากศูนย์ปฏิบัติของเราให้บริการโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น จึงทำให้ไม่สามารถที่จะดูแลบุคคลผู้มีปัญหาเหล่านี้โดยถูกต้องได้ ผู้มีปัญหาทางจิตประสาทจึงไม่ควรสมัครเข้ารับการอบรม
ที่ตั้ง ศูนย์วิปัสสนา 5 แห่ง
ศูนย์วิปัสสนา ตามแนวทางของท่าน อาจารย์โกเอ็นก้า
ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
ที่ตั้ง
กม.166+900 ทางหลวงหมายเลข 33 (สุวรรณศร) เลขที่ 200 บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 โทร.037-403-185, 08-9782-9180
ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา บ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
ที่ตั้ง
กม.49+400 ทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก)เลขที่ 138 บ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65220โทร.08-1605-5576, 08-6440-3463
ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
ที่ตั้ง
กม.31 ทางหลวงหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ)เลขที่ 112 หมู่ 1 ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 40240โทร.086-713-5617โทรสาร 043
ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
ที่ตั้ง
กม.32+500 ทางหลวงหมายเลข 323 (ทองผาภูมิ-สังขละบุรี)เลขที่ 20/6 หมู่ 2 บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 71240โทร.034-531-209 หรือ 08-1811-6447 หรือ 08-1811-6196โทรสาร 034-531-209
สำนักงานและศูนย์ฯ ธรรมธานี จ.กรุงเทพฯ
ที่ตั้ง
เลขที่ 42/660 หมู่บ้านเค.ซี.การ์เด้นโฮมถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510โทร.0-2993-2711 โทรสาร 0-2993-2700
ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
ที่ตั้ง
กม.166+900 ทางหลวงหมายเลข 33 (สุวรรณศร) เลขที่ 200 บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 โทร.037-403-185, 08-9782-9180
ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา บ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
ที่ตั้ง
กม.49+400 ทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก)เลขที่ 138 บ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65220โทร.08-1605-5576, 08-6440-3463
ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
ที่ตั้ง
กม.31 ทางหลวงหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ)เลขที่ 112 หมู่ 1 ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 40240โทร.086-713-5617โทรสาร 043
ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
ที่ตั้ง
กม.32+500 ทางหลวงหมายเลข 323 (ทองผาภูมิ-สังขละบุรี)เลขที่ 20/6 หมู่ 2 บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 71240โทร.034-531-209 หรือ 08-1811-6447 หรือ 08-1811-6196โทรสาร 034-531-209
สำนักงานและศูนย์ฯ ธรรมธานี จ.กรุงเทพฯ
ที่ตั้ง
เลขที่ 42/660 หมู่บ้านเค.ซี.การ์เด้นโฮมถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510โทร.0-2993-2711 โทรสาร 0-2993-2700
ประวัติท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)
ประวัติและปฏิปทา ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)
“ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า” หรือ “ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า” (S.N. Goenka) เป็นชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่า ในครอบครัวนักธุรกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2467 ท่านได้ประกอบธุรกิจจนประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงมากตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม ทั้งได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชนชาวอินเดียในพม่า รวมทั้ง เป็นประธานองค์กรต่างๆ อาทิเช่น หอการค้ามาร์วารีแห่งพม่า และสมาคมพาณิชย์และอุตสาหกรรมแห่งร่างกุ้ง นอกจากนี้ยังร่วมเดินทางไปต่างประเทศกับคณะผู้แทนการค้าของสหภาพพม่าในฐานะที่ปรึกษาอยู่บ่อยๆ
เมื่ออายุ 31 ปี ท่านถูกคุกคามด้วยโรคไมเกรน แม้จะได้รับการดูแลบำบัดรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในหลายประเทศ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จนในที่สุด ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้ทดลองเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตร 10 วันเป็นครั้งแรกกับ ท่านอาจารย์อูบาขิ่น (Sayagyi U Ba Khin) วิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียงที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่งผู้หนึ่ง โดยการแนะนำของเพื่อนชาวพม่าคือ ท่านอูชันตุน อดีตประธานศาลฎีกาพม่า ซึ่งต่อมาภายหลัง ท่านอูชันตุนได้เป็นประธานคนแรกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ครั้งแรกท่านก็ลังเลใจ แต่ด้วยคำอธิบายของท่านอาจารย์อูบาขิ่น ถึงหลักของศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักการสากลที่จะช่วยให้มนุษยชาติได้พบทางแห่งการพ้นทุกข์ได้อย่างถาวร ท่านจึงตัดสินใจเข้ารับการอบรมเป็นเวลา10 วัน ซึ่งท่านได้กล่าวถึงช่วงเวลานั้นว่า
“ใน 10 วันนั้น ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นว่า วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีเหตุมีผล ปฏิบัติได้จริง ทั้งยังเป็นวิทยาศาสตร์ และมุ่งประโยชน์แห่งการปฏิบัติ มิได้มุ่งให้เราเกิดศรัทธาความเชื่ออันมืดบอดอย่างเดียว ทำให้ข้าพเจ้าเป็นอิสระจากโรคภัยไข้เจ็บ รู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งในความสงบ และได้ตระหนักว่า สิ่งที่ทำให้หายจากโรคไมเกรนนั้น อันที่จริงก็คือ การที่ข้าพเจ้าสามารถขุดรากของกิเลสบางอย่างในตัวข้าพเจ้าได้ เดิมทีข้าพเจ้าเป็นคนที่มีโทสะมาก วู่วาม และเป็นคนมีอัตตาสูง แต่ในการอบรม 10 วันนี้ ได้ทำให้ข้าพเจ้าสามารถที่จะควบคุมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
ท่านได้เล่าถึงวิธีการที่ได้รับการอบรมว่า
“ตอนที่เข้ารับการอบรมใหม่ๆ เข้าใจว่าคงจะมีการให้บริกรรมคำสวดบางอย่าง แต่อันที่จริงแล้วไม่มีเลย ไม่มีการบริกรรมคำใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีแม้การสร้างภาพ เพียงแต่ให้เราเฝ้าสังเกตลมหายใจที่เข้าออกอย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น นี่คือสมาธิ ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนที่สำคัญ คือวิปัสสนาด้วยการสังเกตเวทนาหรือความรู้สึกทางกายอันเป็นหนทางนำไปสู่ปัญญา คือ การรู้แจ้งในความเป็นอนิจจังหรือความไม่เที่ยง ซี่งวิธีการสังเกตเวทนานี้เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้แก่มนุษยชาติเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการนำตนให้พ้นทุกข์”
หลังจบจากการปฏิบัติตามหลักสูตร 10 วันแล้ว ท่านโกเอ็นก้าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในเนื้อหาสาระของคำสอนและในแนวทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก จึงปวารณาตัวเข้าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ต่อมาท่านอาจารย์อูบาขิ่นได้แต่งตั้งให้ท่านทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน
ปี พ.ศ.2512 ท่านได้เดินทางกลับไปยังประเทศอินเดียเพื่อเยี่ยมมารดาที่ล้มป่วย ระหว่างที่อยู่ในอินเดีย ท่านได้จัดอบรมวิปัสสนาให้แก่มารดาและญาติพี่น้อง ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจเป็นอันมาก นับจากนั้นขบวนการเอหิปัสสิโกก็ได้เริ่มต้นจากปากต่อปากที่บอกต่อๆ กันไป ทำให้มีผู้มาขอเข้าปฏิบัติกันมากขึ้น และจากการที่ท่านอาจารย์อูบาขิ่นมีความฝังใจอยู่แต่เดิมว่า ประเทศอินเดียมีบุญคุณอย่างล้นเหลือที่ได้หยิบยื่นธรรมอันบริสุทธิ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ประเทศพม่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน แต่ธรรมอันล้ำค่านี้กลับได้สูญหายไปจากประเทศอินเดียอันเป็นต้นกำเนิดจนเกือบหมดสิ้น
ท่านอาจารย์อูบาขิ่น (Sayagyi U Ba Khin)
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าจึงมีความปรารถนาที่จะทดแทนคุณประเทศอินเดีย ด้วยการหาทางนำเอาธรรมะอันล้ำค่านี้กลับไปเผยแผ่อีกครั้ง ซึ่งท่านอาจารย์อูบาขิ่นก็ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านเปิดการอบรมวิปัสสนาในแนวทางนี้ขึ้นในประเทศอินเดียอย่างต่อเนื่อง
หลังจาก 14 ปีของการปฏิบัติ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวิปัสสนาจารย์และได้เดินทางไปเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนาที่ประเทศอินเดียตามความประสงค์ของอาจารย์ของท่าน จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 ท่านจึงได้ก่อตั้งและเป็นประธานสถาบันวิปัสสนานานาชาติศูนย์แรกชื่อ “ธรรมคีรี” ขึ้นที่เมืองอิกัตปุรี ใกล้ๆ กับเมืองบอมเบย์ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของท่านอาจารยอูบาขิ่น ซึ่งดำเนินตามแนวทางของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก นับจากนั้นมาก็ได้มีการจัดอบรมวิปัสสนาหลักสูตร 10 วันและหลักสูตรระยะยาวต่อเนื่องเรื่อยมา
ปี พ.ศ.2522 ท่านเริ่มเดินทางไปเผยแผ่อบรมการปฏิบัติวิปัสสนาตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตามแนวทางของท่านอาจารยอูบาขิ่น ซึ่งดำเนินตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎก ท่านได้อำนวยการสอนวิปัสสนาหลักสูตร 10 วันในประเทศอินเดียและประเทศอื่นๆ ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก กว่า 400 หลักสูตร หลักการสอนของท่านโกเอ็นก้าได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ทั้งในอินเดีย ประเทศที่ยังคงมีความแตกต่างทางด้านชนชั้นและศาสนาอย่างมาก และจากทั่วโลก ทั้งนี้เพราะคำสอนที่มีลักษณะเป็นสากล มิได้ขัดต่อหลักศาสนาใด ท่านเน้นเสมอว่า มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด นับถือศาสนาใด และมีผิวสีอะไร ต่างก็มีความทุกข์ในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น ในเมื่อความทุกข์ของมนุษย์เป็นสากล วิธีการปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความทุกข์จึงต้องเป็นสากลเช่นกัน
ต่อมาท่านได้เริ่มแต่งตั้งอาจารย์ผู้ช่วยให้ช่วยดำเนินการอบรมแทนท่าน โดยใช้เทปและวิดีโอของท่านเป็นแนวทางในการสอน เพื่อรองรับกับความต้องการของประชาชนที่จะเข้าอบรมซึ่งเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันนี้มีอาจารย์ผู้ช่วยกว่า 700 ท่าน และอาสาสมัครช่วยงานต่างๆ อีกนับพันๆ คน มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
โดยมีการก่อสร้างศูนย์วิปัสสนาทั้งสิ้น 80 แห่งใน 21 ประเทศทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีการจัดอบรมหลักสูตรวิปัสสนาทั่วโลกกว่าหนึ่งพันหลักสูตร โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าอบรม ที่พัก หรือค่าอาหารใดๆ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจที่จะบริจาค ทั้งตัวท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเองและอาจารย์ผู้ช่วยต่างๆ ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากการอบรมดังกล่าวแม้แต่น้อย
“ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า” หรือ “ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า” (S.N. Goenka) เป็นชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่า ในครอบครัวนักธุรกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2467 ท่านได้ประกอบธุรกิจจนประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงมากตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม ทั้งได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชนชาวอินเดียในพม่า รวมทั้ง เป็นประธานองค์กรต่างๆ อาทิเช่น หอการค้ามาร์วารีแห่งพม่า และสมาคมพาณิชย์และอุตสาหกรรมแห่งร่างกุ้ง นอกจากนี้ยังร่วมเดินทางไปต่างประเทศกับคณะผู้แทนการค้าของสหภาพพม่าในฐานะที่ปรึกษาอยู่บ่อยๆ
เมื่ออายุ 31 ปี ท่านถูกคุกคามด้วยโรคไมเกรน แม้จะได้รับการดูแลบำบัดรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในหลายประเทศ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จนในที่สุด ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้ทดลองเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตร 10 วันเป็นครั้งแรกกับ ท่านอาจารย์อูบาขิ่น (Sayagyi U Ba Khin) วิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียงที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่งผู้หนึ่ง โดยการแนะนำของเพื่อนชาวพม่าคือ ท่านอูชันตุน อดีตประธานศาลฎีกาพม่า ซึ่งต่อมาภายหลัง ท่านอูชันตุนได้เป็นประธานคนแรกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ครั้งแรกท่านก็ลังเลใจ แต่ด้วยคำอธิบายของท่านอาจารย์อูบาขิ่น ถึงหลักของศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักการสากลที่จะช่วยให้มนุษยชาติได้พบทางแห่งการพ้นทุกข์ได้อย่างถาวร ท่านจึงตัดสินใจเข้ารับการอบรมเป็นเวลา10 วัน ซึ่งท่านได้กล่าวถึงช่วงเวลานั้นว่า
“ใน 10 วันนั้น ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นว่า วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีเหตุมีผล ปฏิบัติได้จริง ทั้งยังเป็นวิทยาศาสตร์ และมุ่งประโยชน์แห่งการปฏิบัติ มิได้มุ่งให้เราเกิดศรัทธาความเชื่ออันมืดบอดอย่างเดียว ทำให้ข้าพเจ้าเป็นอิสระจากโรคภัยไข้เจ็บ รู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งในความสงบ และได้ตระหนักว่า สิ่งที่ทำให้หายจากโรคไมเกรนนั้น อันที่จริงก็คือ การที่ข้าพเจ้าสามารถขุดรากของกิเลสบางอย่างในตัวข้าพเจ้าได้ เดิมทีข้าพเจ้าเป็นคนที่มีโทสะมาก วู่วาม และเป็นคนมีอัตตาสูง แต่ในการอบรม 10 วันนี้ ได้ทำให้ข้าพเจ้าสามารถที่จะควบคุมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
ท่านได้เล่าถึงวิธีการที่ได้รับการอบรมว่า
“ตอนที่เข้ารับการอบรมใหม่ๆ เข้าใจว่าคงจะมีการให้บริกรรมคำสวดบางอย่าง แต่อันที่จริงแล้วไม่มีเลย ไม่มีการบริกรรมคำใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีแม้การสร้างภาพ เพียงแต่ให้เราเฝ้าสังเกตลมหายใจที่เข้าออกอย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น นี่คือสมาธิ ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนที่สำคัญ คือวิปัสสนาด้วยการสังเกตเวทนาหรือความรู้สึกทางกายอันเป็นหนทางนำไปสู่ปัญญา คือ การรู้แจ้งในความเป็นอนิจจังหรือความไม่เที่ยง ซี่งวิธีการสังเกตเวทนานี้เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้แก่มนุษยชาติเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการนำตนให้พ้นทุกข์”
หลังจบจากการปฏิบัติตามหลักสูตร 10 วันแล้ว ท่านโกเอ็นก้าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในเนื้อหาสาระของคำสอนและในแนวทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก จึงปวารณาตัวเข้าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ต่อมาท่านอาจารย์อูบาขิ่นได้แต่งตั้งให้ท่านทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน
ปี พ.ศ.2512 ท่านได้เดินทางกลับไปยังประเทศอินเดียเพื่อเยี่ยมมารดาที่ล้มป่วย ระหว่างที่อยู่ในอินเดีย ท่านได้จัดอบรมวิปัสสนาให้แก่มารดาและญาติพี่น้อง ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจเป็นอันมาก นับจากนั้นขบวนการเอหิปัสสิโกก็ได้เริ่มต้นจากปากต่อปากที่บอกต่อๆ กันไป ทำให้มีผู้มาขอเข้าปฏิบัติกันมากขึ้น และจากการที่ท่านอาจารย์อูบาขิ่นมีความฝังใจอยู่แต่เดิมว่า ประเทศอินเดียมีบุญคุณอย่างล้นเหลือที่ได้หยิบยื่นธรรมอันบริสุทธิ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ประเทศพม่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน แต่ธรรมอันล้ำค่านี้กลับได้สูญหายไปจากประเทศอินเดียอันเป็นต้นกำเนิดจนเกือบหมดสิ้น
ท่านอาจารย์อูบาขิ่น (Sayagyi U Ba Khin)
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าจึงมีความปรารถนาที่จะทดแทนคุณประเทศอินเดีย ด้วยการหาทางนำเอาธรรมะอันล้ำค่านี้กลับไปเผยแผ่อีกครั้ง ซึ่งท่านอาจารย์อูบาขิ่นก็ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านเปิดการอบรมวิปัสสนาในแนวทางนี้ขึ้นในประเทศอินเดียอย่างต่อเนื่อง
หลังจาก 14 ปีของการปฏิบัติ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวิปัสสนาจารย์และได้เดินทางไปเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนาที่ประเทศอินเดียตามความประสงค์ของอาจารย์ของท่าน จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 ท่านจึงได้ก่อตั้งและเป็นประธานสถาบันวิปัสสนานานาชาติศูนย์แรกชื่อ “ธรรมคีรี” ขึ้นที่เมืองอิกัตปุรี ใกล้ๆ กับเมืองบอมเบย์ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของท่านอาจารยอูบาขิ่น ซึ่งดำเนินตามแนวทางของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก นับจากนั้นมาก็ได้มีการจัดอบรมวิปัสสนาหลักสูตร 10 วันและหลักสูตรระยะยาวต่อเนื่องเรื่อยมา
ปี พ.ศ.2522 ท่านเริ่มเดินทางไปเผยแผ่อบรมการปฏิบัติวิปัสสนาตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตามแนวทางของท่านอาจารยอูบาขิ่น ซึ่งดำเนินตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎก ท่านได้อำนวยการสอนวิปัสสนาหลักสูตร 10 วันในประเทศอินเดียและประเทศอื่นๆ ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก กว่า 400 หลักสูตร หลักการสอนของท่านโกเอ็นก้าได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ทั้งในอินเดีย ประเทศที่ยังคงมีความแตกต่างทางด้านชนชั้นและศาสนาอย่างมาก และจากทั่วโลก ทั้งนี้เพราะคำสอนที่มีลักษณะเป็นสากล มิได้ขัดต่อหลักศาสนาใด ท่านเน้นเสมอว่า มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด นับถือศาสนาใด และมีผิวสีอะไร ต่างก็มีความทุกข์ในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น ในเมื่อความทุกข์ของมนุษย์เป็นสากล วิธีการปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความทุกข์จึงต้องเป็นสากลเช่นกัน
ต่อมาท่านได้เริ่มแต่งตั้งอาจารย์ผู้ช่วยให้ช่วยดำเนินการอบรมแทนท่าน โดยใช้เทปและวิดีโอของท่านเป็นแนวทางในการสอน เพื่อรองรับกับความต้องการของประชาชนที่จะเข้าอบรมซึ่งเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันนี้มีอาจารย์ผู้ช่วยกว่า 700 ท่าน และอาสาสมัครช่วยงานต่างๆ อีกนับพันๆ คน มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
โดยมีการก่อสร้างศูนย์วิปัสสนาทั้งสิ้น 80 แห่งใน 21 ประเทศทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีการจัดอบรมหลักสูตรวิปัสสนาทั่วโลกกว่าหนึ่งพันหลักสูตร โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าอบรม ที่พัก หรือค่าอาหารใดๆ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจที่จะบริจาค ทั้งตัวท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเองและอาจารย์ผู้ช่วยต่างๆ ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากการอบรมดังกล่าวแม้แต่น้อย
Mr. Satya Narayan Goenka
S.N. Goenka
Mr. Satya Narayan Goenka (born 1924) is the Principal Teacher of Vipassana, the practical quintessence of the Buddha's teaching. A leading industrialist in Myanmar (Burma) after the Second World War, Goenkaji, as he is affectionately known outside India , is living proof that the mental exercise of meditation is necessary for a wholesome and beneficial life. Known for his humility, deep compassion, unperturbed composure, Mr. Goenka's emphasis on the self-dependant, non-sectarian and result oriented nature of Vipassana found appeal in a world searching for a practical path out of stress and suffering.
As an indicator of the increasing universal acceptance of the Buddha's scientific teachings, Mr. Goenka has been invited to lecture by institutions as diverse as the United Nations General Assembly, members of the Indian Parliament, Harvard Business Club, Dharma Drum Mountain Monastery (of Ven. Sheng Yen) in Taiwan, the World Economic Forum in Davos, Switzerland, the Smithsonian Institute, Massachusetts Institute of Technology (MIT) and Silicon Valley Indian Professionals Association.
Mr. Goenka's success in service comes from being an inspiring example and an ideal, and of practicing what he asks his students to practice. "Develop purity in yourself if you wish to encourage others to follow the path of purity," he told an annual meeting in Dhamma Giri, Igatpuri, on March I, 1989. "Discover real peace and harmony within yourself, and naturally this will overflow to benefit others."
Mr. Goenka is a tireless worker. In 2002, at the age of 78, he undertook a remarkable Dhamma tour of the West. Accompanied by his wife Illaichidevi Goenka, a few senior teachers and students, he traveled for 128 days through Europe and North America, joyfully sharing the priceless gift of Vipassana. The second leg of the tour was a 13,000-mile road journey in a motor caravan through the United States and Canada.
On the 62nd day of this Dhamma Odyssey, on June 10, 2002, Mr. Goenka told a crowded gathering at Sonoma State University, Santa Rosa, CA.
"Throughout life, one encounters things that one does not like, and is separated from things one likes. The Buddha went to the root of this problem, and discovered the solution (of Vipassana) for liberation from all misery. He realized that we keep reacting to the pleasant and unpleasant sensations we feel on the body, with craving and aversion. And due to these mental impurities or habit patterns, we remain agitated and miserable."
In Vipassana, Mr. Goenka found the way out of his miseries experienced in his early life. Born in Mandalay, Myanmar, in a business family of Indian origin, he became one of Myanmar 's ranking business leaders, with offices in many countries. By age 30, he was elected president of the Yangon (formerly Rangoon) Chamber of Commerce and head of many social, educational and cultural organizations.
Mr. Goenka had outstanding success, but not inner peace. Instead, stress brought on crippling migraine headaches, which the world's best doctors were helpless to treat, except with addictive and debilitating drugs. Besides, Mr. Goenka said, he was a very short-tempered, egoistic, person making himself and others around him miserable.
It was at this point that Mr. Goenka met and was inspired by a unique personality in post-war Myanmar : Sayagyi U Ba Khin, the first Accountant-General of independent Myanmar. U Ba Khin also taught Vipassana and worked to spread its practice in public life.
While Vipassana is firmly rooted in the true teachings of the Buddha, Mr. Goenka emphasizes that it is not a religion and involves no dogma, rites, rituals, and no conversion. "The only conversion involved in Vipassana is from misery to happiness, from bondage to liberation," he told an applauding audience at the World Peace Summit at the United Nations, New York, in 2000.
Thousands of Catholic priests, Buddhist monks and nuns, Jain ascetics, Hindu sanyasis come to Vipassana courses along with other religious leaders. Vipassana is the practical quintessence of all religions, to develop the experiential wisdom to live a happy, productive life. In the words of Sayagyi U Ba Khin, Vipassana offers results that are "good, concrete, vivid, personal and immediate."
Mr. & Mrs. S.N. Goenka
In 1969, U Ba Khin authorized Mr. Goenka to go to India and teach Vipassana, as his representative. Since then, the Ganges of Dhamma again started flowing in the land of its origin. From India, Vipassana is spreading worldwide, including in the USA, Europe, Asia-Pacific, China, Russia, Latin America, East European countries and now Africa.
Since 1969, Goenkaji and his wife are conducting Vipassana courses. Mrs. Goenka, known fondly as 'Mataji' (meaning 'respected mother'), is also a Principal Teacher and a distinguished student of Sayagyi U Ba Khin. She has quietly supported and selflessly served in her husband's mission of gratitude to their beloved teacher, Sayagyi U Ba Khin : how to serve more and more beings in benefiting from the liberating path of Vipassana.
After arriving in India, Mr. Goenka soon retired from his flourishing business and devoted his full time to teaching Vipassana. Besides being the gentle patriarch to a large joint family of his six sons and grandchildren, he is the benevolent guide of a growing, highly de-centralized and disciplined organization.
To meet the increasing demand, presently over 800 assistant teachers conduct courses on Mr. Goenka's behalf, using recorded audio and video instructions, with the help of thousands of volunteers. There is no fee for the teaching. Neither Mr. Goenka nor the assistant teachers get any financial or material gain from these courses.
Mr. Goenka elaborated in a talk at Dhamma Nasika, in Nashik city, near Igatpuri, India, on March 5, 2005 : "Dhamma is invaluable. As soon as a fee is charged, it will become the Dhamma of the rich. Those who have money will try to gain peace by paying the highest price. But they cannot gain peace because when Dhamma becomes a commercial commodity, it fails to bring peace. No one should make the mistake, now or in the future, of turning a Vipassana centre into a commercial organization."
A prolific writer and poet, Mr. Goenka writes in English, Hindi and Rajasthani. He quotes the Buddha's words : "Those who have a strong feeling of gratitude, and a wish to serve others without expecting anything, are very rare people." With his over 50 years of dedicated Dhamma service, Mr. Goenka belongs to that very rare category.
Mr. Satya Narayan Goenka (born 1924) is the Principal Teacher of Vipassana, the practical quintessence of the Buddha's teaching. A leading industrialist in Myanmar (Burma) after the Second World War, Goenkaji, as he is affectionately known outside India , is living proof that the mental exercise of meditation is necessary for a wholesome and beneficial life. Known for his humility, deep compassion, unperturbed composure, Mr. Goenka's emphasis on the self-dependant, non-sectarian and result oriented nature of Vipassana found appeal in a world searching for a practical path out of stress and suffering.
As an indicator of the increasing universal acceptance of the Buddha's scientific teachings, Mr. Goenka has been invited to lecture by institutions as diverse as the United Nations General Assembly, members of the Indian Parliament, Harvard Business Club, Dharma Drum Mountain Monastery (of Ven. Sheng Yen) in Taiwan, the World Economic Forum in Davos, Switzerland, the Smithsonian Institute, Massachusetts Institute of Technology (MIT) and Silicon Valley Indian Professionals Association.
Mr. Goenka's success in service comes from being an inspiring example and an ideal, and of practicing what he asks his students to practice. "Develop purity in yourself if you wish to encourage others to follow the path of purity," he told an annual meeting in Dhamma Giri, Igatpuri, on March I, 1989. "Discover real peace and harmony within yourself, and naturally this will overflow to benefit others."
Mr. Goenka is a tireless worker. In 2002, at the age of 78, he undertook a remarkable Dhamma tour of the West. Accompanied by his wife Illaichidevi Goenka, a few senior teachers and students, he traveled for 128 days through Europe and North America, joyfully sharing the priceless gift of Vipassana. The second leg of the tour was a 13,000-mile road journey in a motor caravan through the United States and Canada.
On the 62nd day of this Dhamma Odyssey, on June 10, 2002, Mr. Goenka told a crowded gathering at Sonoma State University, Santa Rosa, CA.
"Throughout life, one encounters things that one does not like, and is separated from things one likes. The Buddha went to the root of this problem, and discovered the solution (of Vipassana) for liberation from all misery. He realized that we keep reacting to the pleasant and unpleasant sensations we feel on the body, with craving and aversion. And due to these mental impurities or habit patterns, we remain agitated and miserable."
In Vipassana, Mr. Goenka found the way out of his miseries experienced in his early life. Born in Mandalay, Myanmar, in a business family of Indian origin, he became one of Myanmar 's ranking business leaders, with offices in many countries. By age 30, he was elected president of the Yangon (formerly Rangoon) Chamber of Commerce and head of many social, educational and cultural organizations.
Mr. Goenka had outstanding success, but not inner peace. Instead, stress brought on crippling migraine headaches, which the world's best doctors were helpless to treat, except with addictive and debilitating drugs. Besides, Mr. Goenka said, he was a very short-tempered, egoistic, person making himself and others around him miserable.
It was at this point that Mr. Goenka met and was inspired by a unique personality in post-war Myanmar : Sayagyi U Ba Khin, the first Accountant-General of independent Myanmar. U Ba Khin also taught Vipassana and worked to spread its practice in public life.
While Vipassana is firmly rooted in the true teachings of the Buddha, Mr. Goenka emphasizes that it is not a religion and involves no dogma, rites, rituals, and no conversion. "The only conversion involved in Vipassana is from misery to happiness, from bondage to liberation," he told an applauding audience at the World Peace Summit at the United Nations, New York, in 2000.
Thousands of Catholic priests, Buddhist monks and nuns, Jain ascetics, Hindu sanyasis come to Vipassana courses along with other religious leaders. Vipassana is the practical quintessence of all religions, to develop the experiential wisdom to live a happy, productive life. In the words of Sayagyi U Ba Khin, Vipassana offers results that are "good, concrete, vivid, personal and immediate."
Mr. & Mrs. S.N. Goenka
In 1969, U Ba Khin authorized Mr. Goenka to go to India and teach Vipassana, as his representative. Since then, the Ganges of Dhamma again started flowing in the land of its origin. From India, Vipassana is spreading worldwide, including in the USA, Europe, Asia-Pacific, China, Russia, Latin America, East European countries and now Africa.
Since 1969, Goenkaji and his wife are conducting Vipassana courses. Mrs. Goenka, known fondly as 'Mataji' (meaning 'respected mother'), is also a Principal Teacher and a distinguished student of Sayagyi U Ba Khin. She has quietly supported and selflessly served in her husband's mission of gratitude to their beloved teacher, Sayagyi U Ba Khin : how to serve more and more beings in benefiting from the liberating path of Vipassana.
After arriving in India, Mr. Goenka soon retired from his flourishing business and devoted his full time to teaching Vipassana. Besides being the gentle patriarch to a large joint family of his six sons and grandchildren, he is the benevolent guide of a growing, highly de-centralized and disciplined organization.
To meet the increasing demand, presently over 800 assistant teachers conduct courses on Mr. Goenka's behalf, using recorded audio and video instructions, with the help of thousands of volunteers. There is no fee for the teaching. Neither Mr. Goenka nor the assistant teachers get any financial or material gain from these courses.
Mr. Goenka elaborated in a talk at Dhamma Nasika, in Nashik city, near Igatpuri, India, on March 5, 2005 : "Dhamma is invaluable. As soon as a fee is charged, it will become the Dhamma of the rich. Those who have money will try to gain peace by paying the highest price. But they cannot gain peace because when Dhamma becomes a commercial commodity, it fails to bring peace. No one should make the mistake, now or in the future, of turning a Vipassana centre into a commercial organization."
A prolific writer and poet, Mr. Goenka writes in English, Hindi and Rajasthani. He quotes the Buddha's words : "Those who have a strong feeling of gratitude, and a wish to serve others without expecting anything, are very rare people." With his over 50 years of dedicated Dhamma service, Mr. Goenka belongs to that very rare category.
A 10-Day Goenka Meditation Course
A 10-Day Goenka Meditation Course
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
สอนโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
วิปัสสนาหมายถึงการมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติเป็นเวลานาน แต่ได้รับการค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว หลักสูตรการอบรมวิปัสสนาใช้เวลาทั้งสิ้น 10 วัน ในระหว่างนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติควบคู่ไปกับการปฏิบัติ โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการอบรมทั้งหมดล้วนมาจากเงินบริจาคของผู้เข้ารับการอบรมรุ่นก่อนๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าอบรม และมีความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์เช่นเดียวกับตนปัจจุบันการอบรมวิปัสสนากรรมฐานได้ขยายไปสู่กลุ่มชนทุกเชื้อชาติศาสนา ทั้งในซีกโลกตะวันออกและตะวันตกทั่วทุกทวีป ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา ไทย พม่า กัมพูชา ไต้หวัน อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง มองโกเลีย อิหร่าน โอมาน อิสราเอล สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รัสเซีย ยุโรป อังกฤษ ฮังการี อเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนติน่า อุรุกวัย คิวบา เวเนซูเอล่า ซิมบับเว เคนย่า อัฟริกาใต้ ฯลฯ โดยจัดขึ้นทั้งที่ศูนย์วิปัสสนา และโดยการเช่ายืมสถานที่ในกรณีที่ประเทศนั้นๆ ยังไม่มีศูนย์ถาวรนอกจากหลักสูตรการอบรมวิปัสสนา 10 วันสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีหลักสูตร 10 วันซึ่งจัดขึ้นเฉพาะพระภิกษุ และหลักสูตรวิปัสสนาในเรือนจำ รวมทั้งหลักสูตรอานาปานสติ สำหรับเด็กและเยาวชน อีกด้วย
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
สอนโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
วิปัสสนาหมายถึงการมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติเป็นเวลานาน แต่ได้รับการค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว หลักสูตรการอบรมวิปัสสนาใช้เวลาทั้งสิ้น 10 วัน ในระหว่างนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติควบคู่ไปกับการปฏิบัติ โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการอบรมทั้งหมดล้วนมาจากเงินบริจาคของผู้เข้ารับการอบรมรุ่นก่อนๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าอบรม และมีความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์เช่นเดียวกับตนปัจจุบันการอบรมวิปัสสนากรรมฐานได้ขยายไปสู่กลุ่มชนทุกเชื้อชาติศาสนา ทั้งในซีกโลกตะวันออกและตะวันตกทั่วทุกทวีป ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา ไทย พม่า กัมพูชา ไต้หวัน อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง มองโกเลีย อิหร่าน โอมาน อิสราเอล สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รัสเซีย ยุโรป อังกฤษ ฮังการี อเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนติน่า อุรุกวัย คิวบา เวเนซูเอล่า ซิมบับเว เคนย่า อัฟริกาใต้ ฯลฯ โดยจัดขึ้นทั้งที่ศูนย์วิปัสสนา และโดยการเช่ายืมสถานที่ในกรณีที่ประเทศนั้นๆ ยังไม่มีศูนย์ถาวรนอกจากหลักสูตรการอบรมวิปัสสนา 10 วันสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีหลักสูตร 10 วันซึ่งจัดขึ้นเฉพาะพระภิกษุ และหลักสูตรวิปัสสนาในเรือนจำ รวมทั้งหลักสูตรอานาปานสติ สำหรับเด็กและเยาวชน อีกด้วย
Subscribe to:
Posts (Atom)